วันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณวิสิฐ โมไนยพงศ์ครับ ท่านเป็นกรรมการผู้จัดการขอบริษัท ทรี.ดี. เฮ้าซิ่ง จำกัด คือผมตั้งใจจะทำการค้นคว้าเรื่องการสร้างบ้าน ว่าถ้าคนคนนึงคิดจะสร้าง หรือจริงๆควรเรียกว่าปลูกบ้านสักหลังขึ้นมา ต้องทำอย่างไรบ้าง และมีวิธีการขั้นตอนอย่างไรบ้าง ผมก็เลยได้ทำการค้นคว้าตั้งแต่การหาที่ดิน การถมที่ การออกแบบ จนมาถึงช่วงที่จะก่อสร้างแล้วนี่แหละครับ จึงได้ทำการเสาะหาว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง มีท่านผู้รู้ที่ไหนบ้าง จนได้มาเจอ คุณวิสิฐ เข้าที่สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านนี่แหละครับ
เราพูดคุยกันถึงปัญหาที่พบบ่อยในการสร้างบ้าน คือ เวลาคนจะสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง เมื่อได้ที่มาแล้ว ก็มักจะไปหาผู้ออกแบบ แล้วก็เอาแบบไปให้ผู้รับเหมาตีราคา แล้วตกลงสร้างกันขึ้นมาครับ แต่ปัญหาที่พบกันจนเกิดโต้แย้ง ก็มักจะมีดังนี้คือ
หนึ่ง เรื่องของแบบ ที่ว่าเข้าใจกันดี ตกลงกันดีแล้ว พอสร้างขึ้นมา มันมักจะไม่เป็นอย่างที่ต่างฝ่ายต่างคิดฝันเอาไว้ ทั้ง สเปค ของอีก อาจไม่ตรงตามที่เข้าใจกันตั้งแต่แรก
สอง พอเกิดการโต้แย้งกันแล้ว เนื่องจากมีหลายกลุ่มคน ที่ทำงานกันอยู่ในงานบ้านนั้น ทำให้เกิดการเกี่ยงความรับผิดกัน ไม่มีใครยอมรับผิดชอบ หรือกว่าจะรับผิดชอบกันได้ต้องเสียเวลา โต้แย้ง พิสูจน์กัน อยู่นาน
สาม ในการคัดเลือกผู้รับเหมานั้น เจ้าของบ้าน ก็มักเลือกผู้รับเหมาถูกที่สุด ส่วนผู้รับเหมา อยากได้งาน ก็ไปสู้ราคากันจนต่ำ บางเจ้า ไม่รู้ต้นทุนของตัวเอง ทำไปทำมา ทุนหมด หรือขาดทุน ก็พาลทิ้งงานกันอีก
ทีนี้ ก็ไปถาม คุณวิสิฐ ว่า แล้วบริษัทรับสร้างบ้านนั้น เป็นทางเลือกที่ดีกว่าอย่างไร ในเมื่อก็เหมือนเป็นคนกลางอีกคนเพิ่มมา ทำแบบนี้ แล้วยังต้องมี คนออกแบบ คนสร้าง อะไรอีก ไม่ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างของ เจ้าของบ้าน ยิ่งสูงกันไปใหญ่หรือ?
ได้คำตอบมาแบบนี้ครับ คือ
หนึ่ง การสร้างบ้าน เป็นความชำนาญพิเศษแบบหนึ่ง ต่างจากผู้รับเหมา ที่เขาอาจทำได้หลายอย่าง แต่ก็ไม่ได้สร้างบ้าน อยู่ทุกวัน เพราะฉะนั้น คนที่สร้างบ้านอยู่ทุกวัน ย่อมมีความชำนาญมากกว่า
สอง การสร้างบ้านโดยใช้ ผู้รับจ้างสร้างบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้าน ติดต่อกับกลุ่มของคนแค่กลุ่มเดียว ความรับผิดชอบ ก็ย่อมเป็นของ ผู้รับจ้างสร้างบ้าน นั้น รวมทั้งการให้บริการหลังการขาย ก็น่าจะทำได้ดีกว่า
สาม ได้บ้านถูกใจ สร้างเสร็จ แน่นอนกว่า เพราะทำโดยผู้รับสร้างที่มีความชำนาญ รวมถึงมีทุนหมุนเวียน โดยมาก เพียงพอกว่าการใช้ผู้รับเหมา ในบางกรณี
สี่ มีการรวมกลุ่มก้อน ติดต่อกับธนาคาร ช่วยเหลือลูกค้าในเรื่อง การสินเชื่อบ้านที่จะสร้าง ทำให้ได้เงินเพียงพอต่อการก่อสร้างและตกแต่ง และมีการจ่ายเงินงวดสินเชื่อ ตรงตามการจ่ายเงินงวดงานของการสร้างบ้าน
สนใจไปติดต่อ สมาคมธุรกิจ รับสร้างบ้าน ดูครับ http://www.hba-th.org/
ผมไม่ได้ค่าโฆษณา ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ เห็นว่า ผู้อ่าน อาจจะได้ประโยชน์ จึงขออนุญาต นำเสนอครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น