หน้าเว็บ

ข้อควรรู้ในการถมดิน สำหรับสร้างสิ่งปลูกสร้าง


เมื่อเราเลือกที่ดินที่จะทำการปลูกสร้างอาคารได้แล้ว สิ่งที่มักจะทำเป็นอันดับต่อไปคือการปรับพื่้นที่ให้เหมาะสมก่อนทำการปลูกสร้างครับ  ไม่ว่าจะเป็นการถางต้นไม้ การรื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมถ้ามี หรือการถมดินเพราะพื้นที่ดินนั้นต่ำกว่าถนน หรือต่ำกว่าระดับที่เคยท่วม หรือแม้กระทั่ง ถมดิน เพราะที่ดินที่เราได้มานั้นเป็นพื้นที่แอ่งน้ำกันเลยทีเดียว

การสร้างอาคารบนพื้นที่ใหม่นั้น เรียกได้ว่าส่วนใหญ่ต้องมีการถมดินกัน เพราะการถมดินจะช่วยทำให้พื้นที่สูงขึ้น ถมดินปรับพื้นที่ใช้เป็นที่กองวัสดุ ให้การทำงานให้ได้ง่ายขึ้นด้วยครับ

ข้อควรรู้สำหรับการถมดินนั้น มีดังนี้คือ

ข้อแรก ถ้าดินที่ถมนั้นมีน้ำขังอยู่  หรือไม่มีน้ำขังก็ตาม เราควรจะต้องทราบว่า ระดับที่จะถมดินนั้น มีความลึกเท่าใด ถ้าเป็นระดับที่มีน้ำขังอยู่นั้น แล้วจะสูบน้ำออก ก็ต้องยิ่งระวัง อย่าสูบน้ำออกทีเดียวจนหมด เพราะถ้าน้ำขังอยู่ลึกมาก การเอาน้ำออกทีเดียวจนหมด อาจทำให้ดินพังลงมาได้

และการรู้ว่าระดับที่ถมมีความหนาของดินถมเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ทราบได้ว่า จะต้องใช้เสาเข็มยาวเท่าไหร่ ในการถมดินครับ เพราะเสาเข็มจะต้องยาวเกินชั้นดินที่ถม ลงไปถึงชั้นดินที่รับน้ำหนักของตัวอาคารได้

ข้อสอง  การขุดและการถมที่ดินนั้น มีกฎหมายควบคุมนะครับ ไม่ใช่ว่าจะทำอย่างไรก็ได้  ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่กรมโยธธาธิการ และผังเมือง  ดูภายใต้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ที่ให้อำนาจในรายละเอียด ไว้กับองค์การบริหารส่วนพื้นที่อีกที   กฎหมายนี้มีข้อกำหนดเช่นว่า ถ้าถมสูงกว่าพื้นที่ข้างเคียง ต้องมากการจัดทางระบายน้ำ และถ้าพื้นที่ถมเกินกว่าสองพันตารางเมตร ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดครับ

ข้อสาม การถมดินที่ถมไปสูงๆ อาจต้องมีการทำกำแพงกันดินด้วย

ข้อสี่  เมื่อถมดินเสร็จแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้ดินมีการยุบตัวก่อน จึงจะทำการก่อสร้างได้ครับ  เพราะยังไงดินก็ต้องยุบตัวอยู่ดี แค่รอให้ดินแห้ง พอจะทำงานได้ ก็สามารถทำงานได้แล้ว

ข้อห้า ดินที่จะใช้ถมนั้น มีหลายประเภทครับ ทั้งดินเหนียว ดินทราย ดินลูกรัง  จะใช้ดินอะไรก็ได้เพราะยังไงเราก็ไม่ได้ใช้ดินเหล่านี้ในการรับน้ำหนักอาคารอยู่แล้ว เราใช้ดินในการปรับพื้นที่ และช่วยให้การทำงานได้ง่ายเท่านั้น

ข้อหก  ดินที่เราถมไปนั้น มันจะต้องทรุดตัวแน่นอนครับ อย่าไปกังวล ขอเพียงการทรุดตัวนั้น เมื่อดินทรุดไปแล้ว บ้านอย่าทรุดตาม และถ้าตัวบ้านส่วนที่ไม่วางอยู่บนเสาเข็ม คือมันวางอยู่บนดินนั้น ทรุดไปจนทำให้เกิดรอยแยก รอยแยกก็อย่าไปดึงตัวบ้านหลัก ให้ทรุดลงไปด้วย

การแก้ไขนั้น เมื่อเกิดดินยุบที่ใต้บ้านจนเป็นโพรงนั้น อย่าเอาดินไปถมตรงที่เป็นโพรง เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับดินที่ยุบลงไปก่อนหน้านั้นอีก  และทำให้การยุบของดินลุกลาม  เราแค่เอาอะไรมากันใต้บ้านไว้ไม่ให้เป็นโพรง ป้องกัน สัตว์ร้ายเข้าไปอาศัยก็พอครับ

ข้อเจ็ด  การตกลงกับผู้รับเหมาถมดินนั้น ถ้าเป็นการถมดินทั่วไป ก็อาจตกลงกันเป็นการถมตามความสูง ว่าจะให้ถมสูงถึงระดับใด ครับ  แต่ถ้าเป็นการถมที่ดินสำหรับโครงการ อาจมีรายละเอียดมากกว่านั้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการถมดิน
หมดแล้วครับ เรื่องถมดิน ดูเหมือนจะหมู แต่ก็เป็นหมูแข็งแรงนะครับ มีความรู้ไว้ ไร้ปัญหากวนใจครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น