สำหรับความรู้เกี่ยวรู้เกี่ยวกับอัคคีภัยนั้น อันที่จริงถ้าจะอธิบายกันอย่างละเอียด ก็ต้องเริ่มจากความสำนึกถึงความสำคัญของภัยจากอัคคีภัย เพื่อจะนำไปสู่การเตรียมตัวรับภัยนั้นด้วยการทำแผนรับมือ และจากแผนรับมือนั้น ก็จะนำไปสู่เรื่องของการซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ ครับ
บทความนี้ก็จะพยายามอธิบายถึงเครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ พอสังเขปครับ เพื่อที่ท่านผู้อ่านพอที่จะทราบถึง การเลือกซื้อถังดับเพลิง ที่ถูกต้อง กับสถานที่ ที่มันจะถูกนำไปวางหรือแขวนอยู่ครับ
ในการจะเกิดไฟไหม้ขึ้นได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่าง ก็คือ อากาศ ( ก๊าซออกซิเจน) เชื้อเพลิง และ ความร้อนครับ ดังนั้นหลักในการจะดับไฟได้ ก็ต้องกำจัด องค์ประกอบของไฟออกไป ซึ่ง การใช้ถังดับเพลิงก็จะลดองค์ประกอบเหล่านี้ คือลดอากาศ และบางชนิดก็ลดความร้อนด้วย
ซึ่งถังดับเพลิงในบ้านเราที่ใช้กันอยู่นั้น ก็มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีสารที่ใช้ดับเพลิงต่างๆกันไป จึงเหมาะกับพื้นที่ต่างๆ และชนิดของเพลิงที่ต่างๆ กันครับ โดยมาตรฐานสากลกำหนด ไว้เป็นห้าประเภท คือ เพลิงชนิด A B C D และ K
เพลิงประเภท A ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง ทั่วๆ ไป เช่นการไหม้ของขยะ ไม้ หญ้งแห้ง เป็นต้น
เพลิงประเภท B ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ ของเหลว และก๊าซที่ติดไฟทุกชนิด เช่นการไหม้ ของน้ำมัน ทินเนอร์ ยางมะตอย ก๊าซติดไฟ เป็นต้น
เพลิงประเภท C ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ วัสดุด้านไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊ก เป็นต้น
เพลิงประเภท D ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ สารเคมี หรือ โลหะบางชนิดที่ติดไฟได้ เช่น แอมโมเนียมไนเตรต แมกนีเซียม ซึ่งสารเคมี หรือโลหะ เหล่านี้บางประเภทสามารถทำปฎิกิริยากับ น้ำ หรือสารเคมี ถึงขั้นระเบิดได้ จึงต้องใช้สารเฉพาะในการดับเพลิงประเภทนี้
เพลิงประเภท K ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ น้ำมันที่ติดไฟยาก เช่นน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร
ซึ่งที่ข้างถังดับเพลิง ก็จะมีตัวอักษร อยู่ข้างถังแสดงถึงชนิดของ เชื้อเพลิงที่ถังดับเพลิงนั้นๆ สามารถดับได้ ไว้ครับ
![]() |
ประเภทของเพลิง |
ถึงเรื่องของ ประเภทของถังดับเพลิงกันเสียที จริงๆ แล้วที่ต่างกัน ก็คือสารที่อยู่ภายในถังนั่นเองครับ ว่าใช้สารประเภทไหน ถังดับเพลิงที่เราควรรู้จัก ก็มีดังนี้คือ
ประเภทแรกเลย เป็นประเภทที่ใช้กันทั่วไปที่สุดตอนนี้ คือประเภทผงเคมีแห้ง ( Dry Chemical) ซึ่งสารเคมีนี้ สามารถดับเพลิงประเภทได้ทั้ง ประเภท A B และ C ข้อดีคือใช้ได้ทั่วๆไป ราคาถูก ส่วนข้อเสียคือ ถ้าใช้แล้วสารจะฟุ้งกระจาย ทำให้พื้นที่บริเวณนั้น สกปรก ข้อควรทราบคือ ถังดับเพลิงนี้ฉีดได้แค่ครั้งเดียว เมื่อฉีดแล้วจะเก็บไว้ฉีดต่อไม่ได้อีก ต้องนำส่งบรรจุสารใหม่
ประเภทที่สอง คือ ประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวถังอาจมีสีแดงๆ เหมือนกับถังประเภทแรก แต่จุดสังเกตุจากรูปลักษณ์ภายนอกของมันคือที่หัวฉีด จะเป็นปลายกระบอกใหญ่ๆ เมื่อฉีดออกมา จะเป็นก๊าซที่เย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ทำให้ลดความร้อนได้ ข้อดีคือฉีดออกมาแล้วไม่ทิ้งคราบสกปรก เหมาะกับการดับเพลิงประเภท B และ C
ประเภทที่สาม คือ ประเภทสูตรน้ำ Water Chemical ใช้น้ำยาดับเพลิงที่เรียกว่า ABFFC สามารถใช้ดับเพลิงได้ทุกประเภท ตั้งแต่ A B C D และ K จึงเหมาะกับการซื้อไว้ตั้งวางในครัว เพราะราคาสูงกว่า แบบผงเคมีแห้ง และสามารถดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันได้ ด้วย
ประเภทที่สี่ คือ ประเภทน้ำสะสมแรงดัน เรียกว่า Water gas หรือ Water pressure ประเภทนี้ใช้ดับเพลิง แบบ Class A ได้ดี เหมาะกับวางไว้ในห้องที่มีเชื้อเพลิงประเภทกระดาษ โรงงานเสื้อผ้า เป็นต้น
ประเภทที่ห้า คือ ประเภทของเหลวระเหย หรือเรียกว่า สาร Halotron สามารถดับเพลิงประเภท A B C ข้อดีคือฉีดแล้วไม่ทิ้งคราบสกปรก แต่มีราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับใช้รักษาทรัพย์สินในห้อง clean room หรือ ห้อง server หรือห้องอะไรที่มีทรัพย์สินราคาสูง ติดตั้งอยู่ เนื่องจากเมื่อฉีดไปแล้ว ทรัพย์สินไม่ถูกทำลายไปด้วย
ประเภทที่หก คือ ประเภทโฟม สามารถดับเพลิงประเภท A กับ B เมื่อฉีดมามีคุณสมบัติพิเศษ เกิดเป็นฟิมล์ ทำให้เชื้อเพลิงไม่ลุกติดขึ้นมาอีก จึงเหมาะมากในการใช้ดับเพลิงประเภท B และเหมาะใช้นำไปวางในห้องที่มีการเก็บเชื้อเพลิงประเภท ทินเนอร์ น้ำมัน ยางมะตอย เป็นต้น
![]() |
ถังดับเพลิงที่ใช้ทั่วไป |
และเมื่อมีอุปกรณ์แล้ว ก็ต้องฝึกซ้อมแผน ฝึกใช้อุปกรณ์ และหมั่นตรวจตราอุปกรณ์ว่ายังใช้ได้อยู่หรือไม่ด้วยครับ
เลือกใช้ถังดับเพลิง ให้เหมาะกับทรัพย์สินที่มันปกป้องด้วยนะครับ ถ้าเลือกใช้ผิด ถึงดับเพลิงได้ ทรัพย์สินก็ยังเสียหายอยู่ดี แล้วจะมีประโยชน์อันใดครับ
![]() |
ตัวอย่างสลากบนถังดับเพลิง |