หน้าเว็บ

เปิดงานอย่างไร ปลอดภัย 100 %


 


โดย  ประสงค์  ธาราไชย


           องค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่  31 พฤษภาคม ของทุกปีให้เป็น “วันงดสูบบุหรี่โลก”  ประเทศไทยก็ได้เป็นสมาชิกขององค์การนี้ด้วยและได้เข้าร่วมในโครงการรณรงค์ให้ประชาชนงดสูบบุหรี่เช่นเดียวกัน ในปีพ.ศ.2542 สมาคมหรือชมรมผู้ต่อต้านการสูบบุหรี่แห่งประเทศไทย หรือชื่ออะไรทำนองนี้ ผมต้องขออภัยที่จำชื่อไม่ได้... ได้จัดงานรณรงค์งดสูบบุหรี่ขึ้นที่ลาน SCB PARK PLAZA  ถนนรัชโยธิน  จัดว่าเป็นงานที่ใหญ่โตมาก มีท่านผู้มีเกียรติมาร่วมงานมากมาย  รวมทั้งดารา นักร้อง และนักแสดงต่าง ๆ ด้วย   โดยสมาคมฯ ได้เชิญคุณพยงค์ มุกดา ครูเพลงอาวุโสผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ให้เป็นประธานในพิธี  ในการเปิดงานนั้น ฝ่ายจัดงานได้วางแผนกันไว้ว่า  ให้มีการจำลองบุหรี่ขนาดใหญ่ไว้หน้าเวที  เมื่อถึงเวลาเปิดงานให้ประธานใช้ดาบฟันลงไปที่แท่งบุหรี่จำลองนี้  เมื่อแท่งบุหรี่ขาด ลูกโป่งหลากสีที่บรรจุอยู่ภายในมวนบุหรี่จำลองนี้ก็จะพากันลอยขึ้นท้องฟ้าไปอย่างสวยงาม
 
           สำหรับโครงสร้างของบุหรี่ยักษ์ความยาวประมาณ 7 เมตรนี้  เป็นโครงเหล็ก  ซึ่งภายในบรรจุลูกโป่งสวรรค์หลากสีไว้อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น  ส่วนภายนอกก็หุ้มด้วยวัสดุที่ผมไม่แน่ใจว่าเป็นกระดาษหรือผ้าที่มีสีสันเหมือนกระดาษบุหรี่   เมื่อถึงเวลาเปิดงาน ก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น คือ หลังจากที่ประธานกล่าวเปิดงานและทำพิธีประหารบุหรี่โดยใช้ดาบฟันลงบนแท่งบุหรี่ยักษ์  เพื่อตัดมวนบุหรี่ให้ขาดออกจากกัน   ทันใดนั้นเองก็เกิดเสียงระเบิดดังขึ้นที่มวนบุหรี่  และเกิดไฟลุกพรึบขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ร่วมงานที่อยู่ใกล้ชิดที่เกิดเหตุต้องประสบอันตรายจากการถูกไฟลวก    มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ความใกล้ชิดกับเหตุการณ์  ซึ่งผู้โชคร้ายหลายท่านก็เป็นดารานักแสดง  อาทิ  คุณทัดทรวง  มณีจันทร์  คุณสมบัติ  เมทะนี  เป็นต้น  แต่ผู้ที่โชคร้ายมากที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกินคุณพยงค์  มุกดา  ท่านประธานในพิธี  เพราะท่านเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์มากที่สุด  เนื่องจากเป็นผู้ลงมือตัดแท่งบุหรี่ด้วยตนเอง  ตามข่าวว่า...ท่านได้รับอันตรายถูกไฟลวกที่บริเวณใบหน้าและลำตัว  แต่เดชะบุญที่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิต
 
           เหตุที่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น  ก็เพราะไม่มีผู้ใดคาดไปถึงว่า  การที่นำเอาดาบที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อมีการเสียดสีกับโครงเหล็กของแท่งบุหรี่ เพื่อที่จะตัดให้มวนบุหรี่ขาดออกจากกัน จะทำให้เกิดประกายไฟขึ้น  และเมื่อเกิดประกายไฟแล้ว แก๊สที่อัดแน่นอยู่ในลูกโป่งสวรรค์หลากสีนั่นแหละ  ได้กลายเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดี  ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นและไฟได้ลุกไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว...
 
           เรื่องนี้คงจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับการเปิดงานประเภทนี้ต่อไปอีกนาน...  หลายคนคงไม่ทราบว่าแก๊สที่บรรจุอยู่ในลูกโป่งสวรรค์นั้นอันตรายมาก เจ้าแก๊สนี้มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า แก๊สไฮโดรเจน ซึ่งมีความเบากว่าอากาศ จึงสามารถทำให้ลูกโป่งลอยได้  แต่ก็มีผลเสียคือ  เป็นแก๊สที่ไวไฟมากเช่นกัน ในสมัย ก่อนเมื่อเวลามีงานรื่นเริงต่างๆ ก็มักจะมีการประดับประดาบริเวณงานให้สวยงามด้วยลูกโป่งสวรรค์หลากสีเหล่านี้  ซึ่งบางครั้งอาจะมีคนมือบอนแขวนเศษกระดาษไว้กับเชือกผูกลูกโป่ง  แล้วปล่องให้ลูกโป่งลอยขึ้นไปพร้อมกับจุดไฟที่กระดาษ เมื่อไฟจากกระดาษลามไปถึงตัวลูกโป่ง ก็จะทำให้เกิดการระเบิดขึ้น ทำให้

           มีเสียงดัง เป็นการสร้างความครึกครื้นสนุกสนาน  ซึ่งการเล่นแบบนี้เป็นอันตรายมาก  ดังนั้นในโรงแรมหลาย ๆ แห่ง เมื่อมีการจัดงาน  เขาจะขอร้องแกมบังคับไว้เลยว่า  ไม่ให้มีการใช้ลูกโป่งอัดแก๊สประเภทนี้ไว้ในงานอย่างเด็ดขาด... แต่ในปัจจุบันบางแห่งมีการนำแก๊สฮีเลียมมาบรรจุในลูกโป่งแทนแก๊สไฮโดรเจน  ซึ่งเจ้าแก๊สฮีเลี่ยมนี้มีคุณสมบัติที่ไม่ติดไฟแต่ก็มีราคาแพงมาก จึงไม่เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายเหมือนลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สไฮโดรเจน
           
           ในงานบางประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดป้ายชื่ออาคารหรือสถานที่ต่างๆก็มักจะนิยมใช้ลูกโป่งสวรรค์จำนวนมากผูกติดไว้กับผ้าแพรที่คลุมป้ายชื่ออาคารหรือสถานที่นั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการต่อไฟฟ้าชั่วคราวจากปุ่มที่แท่นทำพิธี  โยงไปถึงป้ายชื่อนั้น  เมื่อถึงพิธีเปิดป้ายอาคาร  ก็จะมีการกดปุ่มไฟฟ้า เพื่อให้แพรที่คลุมป้ายนั้นค่อย ๆ แยกตัวออกอย่างช้า ๆ  เมื่อแพรเปิดป้ายหมดก็จะถูกลูกโป่งสวรรค์ที่ผูกอยู่  ดึงให้ลอยขึ้นฟ้าไปอย่างงามสง่าและสวยงาม  แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถรับรองผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์  ผมเองเคยเห็นงานเปิดป้ายชื่อบริษัทบางแห่ง  ซึ่งเมื่อถึงเวลากดปุ่มไฟฟ้าที่ว่านี้  กลับทำให้เกิดประกายไฟ  ซึ่งทำให้เจ้าแก๊สโฮโดรเจนที่บรรจุอยู่ในลูกโป่งระเบิดตูมขึ้น  กลายเป็นตัวการทำให้ไฟไหม้ป้ายชื่อบริษัทไหม้เรียบไปเลย  ถือว่าเป็นความโชคร้ายอย่างยิ่งทีเดียว....เพราะไหนจะต้องทำให้บริษัทต้องเสียเงินทำป้ายชื่อใหม่แล้ว  ยังทำให้เจ้าของบริษัทและพนักงานต้องขวัญเสียไปอีกนานเลยครับ..
 
           หลังจากที่ผมได้พบเหตุการณ์เช่นว่านี้หลายครั้ง เมื่อถึงคราวเปิดป้ายอาคารของธนาคารกรุงเทพ จำกัด  สำนักงานใหญ่ที่ถนนสีลม   ผมได้แนะนำให้ใช้คนเป็นผู้ปล่อยลูกโป่งแทนการใช้กระแสไฟฟ้า  โดยจัดให้พนักงานที่ทำหน้าที่ปล่อยลูกโป่งและแพรคลุมป้ายชื่ออาคารไปแอบซ่อนตัวไว้ เพื่อให้ดูสมจริง  ส่วนการกดปุ่ม ก็เป็นเพียงการให้สัญญาณเสียงออด  เพื่อให้พนักงานพวกนี้ทำหน้าที่ของตนอย่างพร้อมเพรียงกันเท่านั้น  วิธีนี้ก็ดูไฮเทคดี  แล้วยังปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย...  วิธีที่ว่านี้ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการเปิดแพรคลุมป้ายอาคารสูงที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ที่พอเอ่ยชื่อใคร ๆ ก็รู้จัก  แต่อย่าบอกดีกว่านะครับ...เพราะไม่ได้ค่าโฆษณา...

เพิ่มมูลค่าสิ่งก่อสร้างด้วยหลัก "อาคารเขียว"


 

 รู้หรือไม่ว่าเราสามารถวัดมูลค่าของสิ่งก่อสร้าง อาคารหรือที่อยู่อาศัยได้จากอะไรบ้าง? มูลค่าจากราคาการก่อสร้าง จากทำเลที่ตั้ง จากวัสดุที่ใช้ หรือจากมูลค่าราคาขาย? แล้วมูลค่าที่ไม่สามารถวัดเป็นจำนวนเงินหรือราคาที่ซ่อนอยู่ในอาคารเหล่านั้นล่ะคืออะไร?

ธุรกิจก่อสร้างหรือธุรกิจอสังหากำลังเติบโตและขยายมากขึ้นในตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เรามักจะเห็นพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตชุมชน เขตเมืองค่อนข้างเยอะขึ้น และเราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า พื้นที่งานก่อสร้างเหล่านั้นกำลังมีผลกระทบกับสภาวะแวดล้อมและชีวิตการอยู่อาศัยของเรา ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางเสียง ทางอากาศ ฝุ่นละออง หรือขยะต่างๆ ทำให้ปัจจุบันนักลงทุนหรือ Developer ต้องใส่ใจกับกระบวนการหรือขั้นตอนในการก่อสร้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตฐาน EIA (Environmental Impact Assessment) หรือการพัฒนาอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของเราให้กลายเป็นอาคารเขียว

อุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม



อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลถือเป็นมาตรฐานการป้องกันอันตรายสุดท้ายที่ผู้ดำเนินการก่อสร้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เพื่อป้องกันอันตรายและเป็นไปตามที่กำหนดในมาตรฐานความปลอดภัยขณะก่อสร้าง หากเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยขึ้นบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เจ้าของอาคารและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีสิทธิที่จะสั่งให้งานก่อสร้างหยุดทันที และไม่ยินยอมให้ผู้ปฏิบัติงานก่อสร้างเข้าทำงานจนกว่าจะจัดหา หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลอย่างเพียงพอตามที่กำหนดในมาตรฐานด้านความปลดภัยก่อสร้าง

 
  

ผิวหน้าคอนกรีตเป็นฝุ่น เกิดจากอะไร?


 

 การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตเป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรือฝุ่น อยู่ที่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตปะเภทพื้น และผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง

 


สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น

ฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอไม่สามารถต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติ หรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัตถุที่มีความแข็งหรือการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับเนื้อคอนกรีตทำให้อนุภาคของส่วนละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา โดยมีสาเหตุหลักจะเหมือนกับการกร่อนหรือหลุดร่อนของคอนกรีต และตามรายละเอียดต่อไปนี้
      1. ขาดการบ่มที่เพียงพอ โดยผิวหน้าของคอนกรีตถูกปล่อยให้สูญเสียน้ำออกไปอย่างรวดเร็ว โดย
         เฉพาะในสภาวะที่อากาศร้อน ความชื้นในอากาศต่ำและมีลมพัดแรง ทำให้ความแข็งแรงของผิว
         หน้าคอนกรีตลดลง ดังนั้นการบ่มคอนกรีตอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อที่จะได้คอนกรีตที่มี
         คุณภาพและมีผิวหน้าที่ทนทาน
     2. การอัดแน่นหรือการจี้เขย่าที่ไม่ถูกต้องและเพียงพอ
     3. การเทคอนกรีตบนพื้นดิน ที่มีการดูดซับต่ำหรือมีการปูแผ่นพลาสติกหรือใช้น้ำยากันการระเหย
         ของไอน้ำประเภท Polyethylene
     4. การเกิด Carbonation ที่ผิวหน้าเนื่องจากไม่มีอากาศถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง

 

 วิธีการลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาผิวหน้าคอนกรีตเป็นฝุ่น

     1.  เลือกใช้คอนกรีตให้เหมาะกับงานประเภทต่างๆ อย่างถูกต้อง โดยต้องคำนึงถึงกำลังอัดและ
          ความสามารถในการต้านทานต่อการขัดสี ซึ่งยิ่งคอนกรีตมีอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุประสานต่ำก็
          จะยิ่งทนการขัดสีได้ดี
     2.  ไม่เติมน้ำเพิ่มลงในคอนกรีตที่หน้างานอีก
     3.  ในการเทคอนกรีตในหน้าหนาว ควรเลือกใช้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัวที่ไม่สูงมาก (ไม่ควรเกิน 8
          ซม.) เนื่องจากระยะเวลาการก่อตัวที่นานขึ้น จะทำให้เกิดการเยิ้มที่ผิวหน้าคอนกรีตมากกว่าเดิม
          ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัวสูง ตราบที่ระยะเวลาการก่อตัวและการเยิ้มยังอยู่ใน
          เกณฑ์ที่ยอมรับได้โดยที่ส่วนผสมคอนกรีตจะต้องไม่เกิดการเยิ้มที่มากเกินไปหรือเกิดการแยก
          ตัวเมื่อเทคอนกรีต
     4.  ไม่ควรทำการแต่งผิวหน้าในขณะที่ยังมีการเยิ้มที่ผิวหน้าของคอนกรีต เพราะจะเป็นการทำให้น้ำ
          ที่กำลังจะลอยขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกกักกลับไปใต้ผิวคอนกรีตอีก ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการดึงฝุ่นและ
          ทรายขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้าอีกด้วย

ที่มา: สภาวิศวกร

ร้อนขนาดนี้ ใช้แอร์ขนาดไหนดี?


การเลือกเครื่องปรับอากาศนั้นต้องมีบีทียูที่เหมาะสม เพราะหากเครื่องปรับอากาศบีทียูต่ำเกินไปจะทำให้ห้องไม่เย็น หากบีทียูสูงเกินไปจะทำให้แอร์ตัดบ่อย ห้องเหม็นอับชื้นได้ แต่บีทียูเท่าไหร่ล่ะที่จะเหมาะกับขนาดห้องของเรา ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า BTU ที่เราพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ นี่มันคืออะไร

BTU (BRITISH THERMAL UNIT) คือ คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ) สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน (ถ่ายเทความร้อน) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( BTU/H ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้น มีความสามารถในการดึงความร้อนออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ภายในเวลา 1 ชั่วโมง เราควรเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องที่จะติดตั้ง โดยใช้การเปรียบเทียบการเลือกขนาดของ BTU กับพื้นที่ห้อง ดังนี้

 


ในการเลือกซื้อแอร์นอกจากต้องสังเกตฉลากเบอร์ 5 แล้ว ควรพิจารณาค่า SEER หรือ EER ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน โดยค่านี้ได้รับการทดสอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยิ่งค่าสูงยิ่งหมายถึงประหยัดไฟมาก

ตรวจและติดตามรอยร้าว ทำอย่างไร?


 

 นอกจากการสำรวจเพื่อดูตำแหน่งและลักษณะการแตกร้าวที่เกิดในอาคารแล้ว การตรวจวัดและติดตามความเปลี่ยนแปลงของรอยร้าวก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ทราบว่าโครงสร้างของอาคารยังมีการขยับตัวอยู่หรือไม่ งานแก้ไขอาคารที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานราก หรือโครงสร้างจะอาศัยการตรวจและติดตามสภาพการแตกร้าวนั้นสามารถทำได้เองง่ายๆ ดังนี้

     1. ใช้ปากกาหรือดินสอขีดคล่อมรอยร้าว โดยให้เส้นที่ขีดตั้งฉากกับรอยร้าววัดความยาวของเส้นที่ขีด และจดบันทึกพร้อมลงวันที่ไว้ด้านข้าง การทำเช่นนี้จะทำให้ตรวจวัดได้ในภายหลังว่ารอยแตกร้าวนั้นกว้างขึ้น หรือมีการลื่นไถลจากเดิมหรือไม่ หากเป็นรอยแตกร้าวแนวเฉียงที่ผนังซึ่งเกิดจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน รอยแตกร้าวที่เกิดเพิ่มขึ้นมักจะมีลักษณะเลื่อนเฉือนตามแนวของรอยแตกเดิม ทำให้เส้นที่ขีดคล่อมรอยร้าวไว้เลื่อนเหลื่อมจากกันไม่อยู่ในแนวเส้นตรงดังเดิม

     2. ใช้ปากกาหรือดินสอขีดกั้นที่ปลายของรอยร้าว พร้อมบันทึกวันที่ที่ทำเครื่องหมายไว้ด้วย หากแตกร้าวเพิ่มขึ้นรอยร้าวจะยาวเกินเส้นที่ขีดคั่นไว้

     3. ใช้แผ่นกระจกสไลด์ซึ่งหนาประมาณ 2 มม. ติดคร่อมรอยร้าวในแนวตั้งฉากกับรอยร้าวโดยติดกาวที่กระจกทั้งสองข้างของรอยร้าว ก่อนติดกระจกควรใช้กระดาษทรายขัดผิวปูนให้เรียบ และสะอาดก่อนเพื่อกระจกจะได้ติดแน่นไม่หลุดล่อนในภายหลัง เมื่อติดกระจกทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วแตกแสดงว่ามีการขยับตัวแตกร้าวเพิ่มขึ้น

     4.  ใช้แผ่นสเกลตรวจวัด ติดคร่อมรอยร้าวแผ่นตรวจวัดพิเศษที่ว่านี้ประกอบด้วยแผ่นพลาสติกสองแผ่นที่เลื่อนออกจากกันได้ บนแผ่นพลาสติกแต่ละแผ่นมีสเกลวัดระยะความยาวและวัดมุม เมื่อรอยร้าวเพิ่มขึ้นแผ่นพลาสติกจะเลื่อนหลุดจากกัน สามารถวัดความยาวของรอยร้าวที่เพิ่มขึ้นและระยะเลื่อนบิดของรอยแตกได้

*** ข้อสังเกต อย่างไรก็ตาม เท่าที่พบเห็นวิธีใช้กระจกติดทาบเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของรอยร้าวนั้นมักจะไม่ค่อยเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะรอยร้าวเฉียงที่กลางผนังซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของฐานรากไม่เคยพบเห็นกระจกแตกเลย ทั้งๆที่กระจกยังติดแน่นกับเนื้อปูนทั้งสองข้างของรอยร้าวและรอยร้าวก็เกิดเพิ่มขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะรอยร้าวที่เกิดเพิ่มขึ้นนั้นเกิดในลักษณะเลื่อนไถลมากกว่าจะแตกกว้างออกจากกันตรงๆ การเลื่อนไถลของรอยร้าวไม่สามารถทำให้กระจกแตกได้ เมื่อกระจกไม่แตกก็เลยคิดว่ารอยร้าวไม่เพิ่มขึ้น วิธีติดกระจกจึงอาจไม่แสดงผลให้ทราบแน่ชัดเสมอไป วิธีที่ให้ผลดีกว่าและทำได้แบบง่ายๆ จึงน่าจะเป็นวิธีขีดเส้นคร่อมรอยร้าวตามที่กล่าวในตอนต้น

ขอบคุณหนังสือ: คู่มือตรวจสอบรอยร้าว สาเหตุและการแก้ไข

รู้จักให้มากขึ้นกับหลังคาเมทัลชีท


 

 ตอนที่แล้วช่างมันส์เราพูดกันถึงเรื่องของโครงสร้าง และรูปแบบหลังคากันไปแล้วว่าหลังคาแบบไหนที่เหมาะกับบ้านเรา นอกจากรูปแบบและโครงสร้างแล้ววัสดุมุงหลังคาก็มีส่วนสำคัญ วัสดุมุงหลังคาในท้องตลาดที่ใช้กันอยู่นั้นก็มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น กระเบื้องดินเผา กระเบื้องคอนกรีต และเมทัลชีท แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าหลังคาเมทัลชีทนั้นคืออะไร ต่างจากหลังคากระเบื้องอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวัสดุประเภทนี้กันดีกว่าค่ะ

หลังคาบ้านเลือกใช้แบบไหนดี?



 

หลังคาบ้าน เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของบ้านที่จะช่วยให้น่าดูสวยงาม แต่รูปแบบหลังคาบ้านหรือโครงสร้างแบบไหนล่ะที่เหมาะสมกับตัวบ้าน และสภาพอากาศบ้านเราวันนี้เรามาทำความรู้จักให้มากขึ้นกับโครงสร้างและรูปแบบของหลังคาก่อนตัดสินใจกันดีกว่าค่ะ

สายดินคืออะไร แล้วมันจำเป็นไหม?


 


สายดินคืออะไร?
สายดิน เป็นสายที่ถูกออกแบบไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าสายไฟเส้นดังกล่าวปลายด้านหนึ่งจะต้องต่อลงดิน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของวัตถุหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน

 


แล้วสายดินในปัจจุบันมีกี่ชนิด?
ในปัจจุบัน สายดินโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ชนิด

กลิ่นปริศนาภายในบ้าน กำจัดยังไงดี!!


 

หากบ้านที่เคยหอมสะอาดกลับมีกลิ่นแปลกปลอมกวนจมูก แม้จะค้นหลังตู้ใต้เตียงและขัดถูให้สะอาดแล้ว กลิ่นก็ยังไม่หาย สันนิษฐานได้เลยว่าต้นตออาจมาจากงานระบบที่ซ่อนอยู่ภายในหรือมาจากสภาพแวดล้อมไม่ดี เมื่อมีช่องหรือรูเพียงเล็กน้อยก็ทำให้กลิ่นเล็ดลอดเข้ามาได้ วันนี้เราจะพามาดูต้นเหตุ การแก้ไข และวิธีการรับมือกลิ่นเหม็นที่มักเกิดในบ้านกัน