หน้าเว็บ

กั้นแยกพื้นที่ (Compartmentation) ของอาคารเพื่อลดความเสียหายในการเกิดไฟไหม้ โดย คุณสุเมธ เกียรติเมธา ตอนที่ 2


    ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยหรือการป้องกันไฟและควันลาม โดยเฉพาะใน "เชิงรับ" (Passive fire protection) จะพูดถึง “ควัน” เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารทุกๆ อาคาร รวมถึงผู้ใช้อาคารเช่นกัน

    เนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตนั้นแท้จริงแล้ว การสูญเสียโดยเฉพาะชีวิตของผู้ที่ใช้อาคารที่เกิดเพลิงไหม้นั้นมาจาก “ควัน” เสียเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากเวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้น การลามของไฟ และควันต่างกันคือ ไฟจะลามไปตามวัสดุหรือเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้โดยใช้องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
   1. เชื้อเพลิง
   2. พลังงานความร้อน (ตัวเริ่มปฏิกิริยา)
   3. ออกซิเจน (ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ 15% จะไม่สามารถจุดติดไฟได้ แต่ถ้าปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ 26% อัตราการเผาไหม้จะเพิ่มเป็น 2 เท่าของสภาพปกติ, ออกซิเจน 21%) คือควันสามารถลามไปได้ทุกที่โดยใช้ช่องว่างหรือช่องเปิดของอาคาร เช่น ช่องวางใต้บานประตู ท่อปรับอาคกาศ ช่องวางรอยต่อผนังใต้ท้อง พื้น คาน ช่องเปิดเพื่อให้ท่อน้ำดื่มน้ำใช้ที่เจาะผ่านพื้นแต่ละชั้น ทางเดินภายในอาคาร เป็นต้น


อันตรายจากควันไฟได้แก่:
  • ผู้ใช้อาคารขาดอากาศหายใจ หมดสติ หรือเสียชวิต
  • ทัศนะวิสัยในการอพยพหนีเอาชีวิตรอดทำได้ลำบาก
  • ความร้อนจากควันร้อน เผาไหม้ผิวหนัง
  • ก๊าซพิษ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันมีผลกระทบต่อปอดและระบบหายใจของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต

จุดเสี่ยงที่ต้องทำการกันแยกสำหรับช่องเปิดในแนวดิ่ง ถัดไปจากตอนที่แล้ว คือ ช่องเปิดที่ผ่านพื้นอาคาร ซึ่งเจาะทะลุที่จำเป็นต้องสามารถป้องกันไฟและควันลามได้ ได้แก่

    1. ช่องเปิด เพื่อเดินสายเคเบิล สายไฟ ท่อร้อยสาย


รูปตัวอย่างการอุดปิดช่องเปิดด้วยระบบป้องกับไฟและควันลามแล้ว

     2. ช่องเปิด เพื่องานระบบเครื่องกล ระบบท่อ หรือระบบปรับอากาศ


รูปตัวอย่างที่ยังไม่มีการอุดปิดช่องเปิดในแนวดิ่ง
รูปตัวอย่างการอุดปิดช่องเปิดด้วยระบบป้องกับไฟและควันลามแล้ว


    3. ช่องเปิด หรือช่องลอด เพื่อเตรียมไว้สำหรับติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องกล และระบบสื่อสารในอนาคต

    ซึ่งผู้ที่เกี่ยววข้องในอาคารทุกอาคาร รวมไปถึงผู้ใช้อาคารจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการป้องกันไฟและควันลาม ระบบเชิงรุก (Active fire protection) เพื่อให้กรณีมีเหตุเพลิงไหม้แล้ว จะมีระยะเวลามากเพียงพอที่จะอพยพหนีออกมาจากอาคารได้ทัน และเจ้าหน้าที่เข้าไประงับเหตุและช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้ทัน โดยเฉพาะไฟและควันจากจุดต้นเพลิงจะถูกจำกัดหรือกั้นแยกออกจากพื้นที่อื่นๆ สำหรับช่องเปิดในแนวดิ่งนั้นก็เพื่อจำกัดหรือกั้นแยกชั้นต่อชั้นออกจากกัน จากไฟและควัน “ช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้อาศัยในชั้นบนขึ้นไปของชั้นต้นเพลิงได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้”

“สิ่งสำคัญในการออกแบบและควบคุมการติดตั้งระหว่างการก่อสร้างคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องได้รับเอกสารการทดสอบ (Test report) จากสถาบันที่เชื่อถือได้ โดยต้องตรงตามลักษณะของช่องเปิด หรือวัสดุที่ผ่านช่องเปิดนั้นๆ และมีการระถึงอัตราการทนไฟ “Fire Resistance Rate” (ชม.) และขั้นตอนการติดตั้งอย่างละเอียด”

Cr. คุณสุเมธ เกียรติเมธา และคุณน้ำฝน เมธาวินวิวัฒน์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น